เปิดตำราแม่ครัวหัวป่าก์ ในสมัยรัชกาลที่ 5
เนื่องจากในปัจจุบันเราพบเห็นทั้งร้านกาแฟ ร้านอาหารไทยนำใบกัญชามาปรุงอาหารกันมากมาย แต่การใช้ใบกัญชามาปรุงอาหารเป็นเทรนด์ใหม่ในปัจจุบันนี้จริงหรือ ? ถ้าเราลองพลิกตำราอาหารไทย แม่ครัวหัวป่าก์ ซึ่งตีพิมพ์ในช่วงปลายรัชสมัย ร.5 พ.ศ.2452 เขียนโดย “ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์” โดยมีธิดาคือ คุณหญิพวง ดำรงราชพลขันธ์ เป็นผู้เรียบเรียง ใครที่อยากลองปรุงเมนูนี้ก็สามารถและเปิดไปที่หน้า 139 จะพบเมนู “แกงปลาไหลใส่กัญชา” เมนูยอดนิยมของผู้ชายในสมัยนั้น (เชื่อว่ามีสารช่วยเพิ่มสมรรถภาพ)
“ใบกัญชา” ถูกนำมาปรุงอาหารในประเทศไทยมาแล้วถึงกว่าร้อยปี และบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในตำราแม่ครัวหัวป่าก์นี้ กัญชากับภูมิปัญญาไทยในอาหารที่มีมาแต่โบราณ
ในอดีตเมนูอาหารจากกัญชาไม่ได้พูดถึงสรรพคุณของกัญชาในเชิงการแพทย์เท่าไหร่ แต่เราใช้กัญชาปรุงอาหารด้วยภูมิปัญญามาตั้งแต่โบราณโดยเฉพาะการใช้ส่วน “ใบ” มาประกอบอาหาร
คนโบราณจะไม่ใส่ใบกัญชาในแกงขณะเคี่ยวบนไฟ เพราะเมื่อใบกัญชาโดนความร้อนหรือน้ำมัน สาร THCA ในใบกัญชาสดที่โดนความร้อนจะเปลี่ยนสภาพเป็น THC หรือสารเมา ที่หากรับประทานในปริมาณมากอาจมีอาหารมึนได้
ภูมิปัญญาโบราณฉลาดมาก ไม่ว่าจะในตำรายาไทยหรือตำรับอาหารไทย เราจะใช้กัญชาเข้ากับสมุนไพรรสร้อนเท่านั้น โดยเฉพาะพริกไทย เพราะพริกไทยมีสารพิเพอรีน (Piperine) ช่วยเพิ่มการออกฤทธิ์ของใบกัญชา ซึ่งช่วยให้คลายเครียดและนอนหลับได
นอกจากเมนูแกงปลาไหลแล้ว ใบกัญชายังนำไปปรุงอาหารได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นต้ม ผัด แกง ทอด ที่นอกจากประโยชน์และสรรพคุณทางการแพทย์แล้ว กัญชายังทำให้รสชาติอาหารชัดเจนขึ้น ทำให้เราอยากอาหารมากขึ้น เรียกว่าทานอร่อยจนหมดจานไม่รู้ตัว แบบนี้อาหารไทยจึงถูกเรียกว่า อาหารไทยเป็นยาที่อร่อยที่สุดในโลกนั่นเอง
คำแนะนำ : ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ใบเพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เพราะหากรับประทานมากกว่า 5 ใบ อาจจะส่งผลให้เกิดอาการใจสั่น (หัวใจเต้นเร็ว), ปากแห้ง คอแห้ง ง่วงนอน มึนงง วิงเวียน และปวดหัวได้